วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

ชีวิตปลอดภัยห่างไกล เครื่องสำอางปรอท กับ refreshbrands

ปรอท




สารเคมีในเครื่องสำอาง
          สารปรอท   
         
 ปรอท ( Mercury) เป็นโลหะหนักสามารถหาปรอทได้จากหินที่ขุดพบในเหมือง โดย
การนำหินนั้นนั้นมาทำให้ร้อนด้วยอุณหภูมิ 357 องศาเซลเซียส
         ปรอทเป็นสารที่มีความหนาแน่นสูง ถึงขั้นที่ก้อนตะกั่วหรือเหล็กสามารถลอยอยู่ได้ ถึึงแม้ปรอทจะมีลักษณะคล้ายตะกั่วและเป็นของเหลว แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่ว (มวลอะตอม 200.59)
ปรอทจะเป็นโลหะ แต่ก็ไม่ดึงดูดกับแม่เหล็ก เราสามารถนำปรอทมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ได้แก่
·         อุตสาหกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิและความดัน
·         การย้อมสี
·         การผลิตเยื่อกระดาษ พลาสติก 
เภสัชภัณฑ์
·         อุปกรณ์ในการถ่ายรูป
·          อุปกรณ์ไฟฟ้า
·         สารฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ
    นอกจากนี้ เนื่องจากว่าปรอทมีจุดเดือดไม่สูงนัก จึงได้มีการทดลองนำ เมอคิวริคออกไซด์ มาผลิดเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์อีกด้วย 
    ปรอทมักจะใช้ในการผลิตเคมีทางอุตสาหกรรม หรือในการประยุกต์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทใช้ในเทอร์มอมิเตอร์บางชนิด โดยเฉพาะที่ใช้วัดอุณหภูมิสูง
       
การใช้สารประกอบของปรอทที่สำคัญสองชนิด
·         ชนิดแรกคือ 3% mercuric iodine
·         ชนิดที่สอง 10% ammoniated mercury
       ทั้งสองชนิดเป็นสารปรอทชนิดอนินทรีย์ ซึ่งเมื่อรวมตัวกับ iodide หรือ chloride เกลือที่เกิดขึ้นจะถูกดูดซึมทางผิวหนังอย่างรวดเร็วและในปริมาณที่เป็นพิษได้ ในกรณีที่สารปรอทกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสาร methyl mercury สารนี้มีความเป็นพิษสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิษต่อระบบประสาทและพิษต่อไต ในบางรายเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบอย่างรุนแรง บางรายเกิดปัญหาสิวเห่อ ผิวหนังยุบเป็นร่องรอยบนผิวหนัง ผิวด่าง-ดำ
ปรอทแอมโมเนีย เคยเป็นที่นิยมใช้กันมาก เช่นเดียวกับไฮโดรควิโนน
 ในครีมป้องกันฝ้าเรียกว่า ครีมไข่มุก โดยใช้ในอัตราส่วนไม่เกิดร้อยละ 3.0
ปรอทแอมโมเนียรบกวน  เอนไซม์ไทโรซิเนส โดยรวมตัวกับโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ หรือโดยการจับกับไอออนทองแดงที่มีอยู่ในเอนไซม์ ทำให้ลดการสร้างเมลานิน
ประโยชน์ของปรอท
-
ใช้ในการทำเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ ปั๊มดูดอากาศ และเครื่องมือที่ใช้วัด ความดันโลหิต
-
ใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เช่น สวิตช์อัตโนมัติสำหรับตู้เย็นและไฟฟ้ากระแสตรง
-
สารประกอบของปรอทใช้ในการทำวัตถุระเบิด
-
ซัลไฟด์ของปรอทใช้ทำสีแดงในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา
-
ออกไซด์ของปรอทใช้ในการทำสี เพื่อป้องกันมิให้แตกและลอกง่ายสำหรับนำไปใช้ทาใต้ท้องเรือ
-
ปรอทเป็นตัวทำละลายที่ดีสำหรับโลหะบางชนิด สารละลายที่ได้เรียกว่า อะมาลกัม ดีบุกอะมาลกัมใช้ในการทำกระจกเงา เงิน-ดีบุกอะมาลกัมใช้เป็นวัสดุในการอุดฟัน โดยผสมปรอทกับโลหะผสมระหว่างเงินกับดีบุก
-
ใช้ในอุตสาหกรรมทำหมวกสักหลาด
โทษเกิดจากปรอท
การเกิดพิษจากสารปรอทมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง พิษชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากอุบัติเหตุโดยการกลืนกินสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปริมาณปกติที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและทำให้คนตายได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 0.02 กรัม อาการที่เกิดจากการกลืนกินปรอท คือ
-
อาเจียน ปากพอง แดงไหม้ อักเสบและเนื้อเยื่ออาจหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ
-
เลือดออก ปวดท้องอย่างแรง เนื่องจากปรอทกัดระบบทางเดินอาหาร
-
มีอาการท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระเป็นเลือด
-
เป็นลม สลบเนื่องจากร่างกายเสียเลือดมาก
-
เมื่อเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ปรอทจะไปทำลายไต ทำให้ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด
-
ตายในที่สุด
          การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี่สวนผสมของปรอทแอมโมเนีย
·         ทำให้มีการสะสมปรอทในผิวหนัง และดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต
·         ทำให้ตับ และไตพิการ
·         โรคโลหิตจาง เป็นต้น
·          ปรอทแอมโมเนียถูกกำหนดเป็นสารห้ามในเครื่องสำอางตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 37 พ.ศ. 2532 ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 และยังคงห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 9 พ.ศ. 2536 ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 

อันตรายไม่เกิดหากใช้เครื่องสำอางที่ผ่านการจดแจ้งถูกต้อง  จากกระทรวงสาธารณสุขแล้วเท่านั้นนะครับ

ชีวิตปลอดภัย ไปกับ refreshbrand by เภสัชกร อธิราช

http://www.refreshbrands.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น