วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

อาการแพ้จากเครื่องสำอางน่ารู้

    





      เครื่องสำอางมิได้หมายถึงเฉพาะลิปสติก แป้งทาหนา มาคารา อายแชโดว์ ดินสอเขียนคิ้ว เขียนตา เท่านั้น แต่เครื่องสำอางยังรวมถึง สบู่ แชมพู ยาสีฟัน น้ำยาดัดผม ยาย้อมผม และผ้าอนามัย เป็นต้น จะเห็นได้วาเครื่องสำอางเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน สำหรับคนทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย หรืออาจกล่าวได้ว่าจำเป็นสำหรับทุกคน
     

                                     วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องสำอาง ได้แก่
   
   
      1.เพื่อบำรุงรักษา และ เพื่อสุขภาพอนามัยของร่างกาย ได้แก่ สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ครีมล้างหน้า ครีมบำรุงผิว เป็นต้น
      2.เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น เครื่องสำอางแต่งใบหน้า น้ำยาดัดผม ยาย้อมผม และ อื่นๆ
      3.เพื่อกลิ่นสะอาด เช่น ครีมระงับกลิ่นตัว น้ำยาหลังโกนหนวด น้ำยาบ้วนปาก น้ำหอม และ อื่นๆ
      4.เพื่อปกป้องผิวหนัง เช่น ครีมกันแดด เป็นต้น
      บางครั้งเครื่องสำอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง หรือ เป็นพิษต่อร่างกายได้ ส่วนมาก จะเกิดจากการใช้ที่ผิดวิธี ไม่ปฏิบัติตามวิธีใช้ในฉลาก และส่วนน้อยเกิดจากสารเคมีในเครื่องสำอางมีปฏิกิริยาต่อร่างกายทำให้เกิดอาการแพ้      องค์ประกอบที่ทำให้เกิดอาการข้างเคียง      หรือกล่าวได้ว่าทำให้เกิดพิษจากการใช้เครื่องสำอาง ได้แก่      1.ระยะเวลาที่สัมผัสผิวหนัง เครื่องสำอางที่ทาแล้วทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ เช่น ครีมบำรุงผิว มักก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้มากกว่าเครื่องสำอางประเภทที่ทาแล้วล้างออก เช่น แชมพู น้ำยาปรับสภาพผม
      2.บริเวณที่ทาผิว ผิวหนังบางแห่งของร่างกายไวต่อสิ่งรบกวนมากกว่าบริเวณอื่นด้วย เช่น ผิวหนังรอบดวงตา จึงพบว่าเครื่องสำอางแต่งดวงตาจะก่อให้เกิดปัญหาได้บ่อย
      3.ความเป็นกรด-ด่างของเครื่องสำอาง เครื่องสำอางที่มีความเป็นด่างสูง เช่น ครีมกำจัดขน และครีมยืดผม จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองค่อนข้างมาก
      4.ความเข้มข้นของสารที่ระเหยได้ เครื่องสำอางที่มีปริมาณสารที่ระเหยได้สูง เช่น น้ำยาระงับกลิ่นตัวชนิดฉีดพ่นหรือของเหลว เมื่อทาแล้วและสารที่ระเหยได้ระเหยออกไป ความเข้มข้นของสารระงับเชื้อจุลินทรีย์อาจเพิ่มขึ้น 2-5 เท่า ทำให้เกิดอาการข้างเคียงสูงขึ้น
     

                             อาการข้างเคียง
      เนื่องจากการใช้เครื่องสำอาง แบ่งออกได้ 2 ทาง
    
       1.อาการทางผิวหนัง
 เกือบทั้งหมดของอาการข้างเคียงที่มีสาเหตุเนื่องจากใช้เครื่องสำอางเป็นอาการทางผิวหนัง ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ชนิด
      1.1การระคายเคือง (Irritation)
      มีอาการผิวหนังอักเสบ เนื่องจากสัมผัสสารนั้นโดยตรง เช่น จากสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด หรือ ด่าง มาก      1.2 อาการแพ้ (Allergy)
      มีอาการผิวหนังจากการแพ้ทางปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน    ปฏิกิริยาดังกล่าวเกิดเฉพาะกับคนที่แพ้ต่อสารนั้นๆ และเนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่ผ่านทางระบบคุ้มกันจึงต้องอาศัยช่วงเวลาหนึ่งโดยเมื่อสัมผัสสารครั้งแรกจะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันขึ้น   เมื่อไปสัมผัสสารนั้นอีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ ครั้งต่อๆ ไป จึงเกิดปฏิกิริยามีการอักเสบขึ้นได้
      1.3 อาการพิษจากแสง (Phototoxicity)
      มีอาการผิวหนังอักเสบ เนื่องจากพิษของสารเคมีร่วมกับแสงแดด อาการคล้ายข้อ 1.1 แต่ต้องมีแสงอุลตราไวโลเล็ตเป็นตัวกระตุ้น
      1.4 ภูมิแพ้แสง (Photoallergy)
      มีอาการคล้ายข้อ 1.2 แต่ต้องมีแสงอุตราไวโอเล็ตเป็นตัวกระตุ้น
      2.อาการทางระบบอื่นๆ      2.1 การระคายเคืองต่อตา (Eye iirritation)
      เนื่องจากแชมพู โฟมอาบน้ำกระเด็นเข้าตาโดยอุบัติเหตุ นอกจากนี้ครีมทาหน้ามักมีส่วนผสมของเบนซิลอะซิเตต (Benzyl acetate)หรือ เบนซิลแอลกอฮอล์ (Benzyl alcohol) ในน้ำหอมแต่งกลิ่น เมื่อทาใก้ลตา  อาจระคายเคือง ทำให้น้ำตาไหลได้
      2.2 การระคายเคืองต่อทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากฟองอาบน้ำ (Bubble bath)
      2.3 การระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ เนื่องจากการใช้สเปรย์แต่งทรงผม หรือสเปรย์ระงับกลิ่นตัว ในห้องที่อากาศถ่ายเทไม่ดี
      2.4 พิษจากการใช้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น
       การเกิดวิรูปของทารกในครรภ์ (Teratogenicity)
       การกลายพันธุ์ (Mutagenicity)
       การเกิดมะเร็ง (Carcinogenicity) เป็นต้น

      โดยทั่วไปขนาดความพิษที่เกิดจากเครื่องสำอางหรืออาการข้างเคียง มักจะเป็นเพียงอาการระคายเคืองเล็กน้อย เมื่อหยุดใช้อาการก็จะหายไปเอง มีส่วนน้อยมากที่เกิดอาการรุนแรงต้องได้รับการรักษาจึงหายเป็นปกติ จำนวนคนที่เกิดอาการข้างเคียงที่แท้จริงไม่อาจทราบได้เพราะว่าคนไข้น้อยรายที่เกิดอาการแล้วไปพบแพทย์โรคผิวหนัง ส่วนมากจะหยุดใช้เครื่องสำอางนั้นทันทีโดยไม่ปรึกษาแพทย์
             จะเห็นได้ว่าโอกาสที่จะเกิดอาการข้างเคียงเนื่องจากการใช้เครื่องสำอางมีน้อยมาก กล่าวได้ว่าโดยทั่วไปเครื่องสำอางปลอดภัยต่อการใช้      จากข้อมูลการศึกษา พบว่าเครื่องสำอางที่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้มากกว่าเครื่องสำอางชนิดอื่น ได้แก่
      1.ยาย้อมผม และสารฟอกจางสีผม (Hair colour and bleach)      ยาย้อมผม ที่ทำให้เกิดอาการแพ้มักเป็นยาย้อมชนิดถาวร ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน
      ส่วนที่1 เป็นส่วนผสมของสารที่ทำให้เกิดสี (Colour intermediate)
      ส่วนที่2 เป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ นำมาผสมแล้วทาบนเส้นผมทันที สารซึ่งเป็นส่วนผสมในส่วนที่1 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พาราฟีนีไดอะมีน ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ร้อยละ 4 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นอาการแพ้ร้อยละ 1 อาการแพ้เริ่มจากผิวหนังมีผื่นแดง บวมรอบนัยต์ตา ต่อมาผื่นแดงกลายเป็นตุ่มใส มีน้ำเหลือง คันมาก บริเวณที่เกิดตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้าและต้นคอ ถ้าแพ้มากทำให้หายใจลำบาก และเกิดจ้ำเขียวเป็นผื่น นอกจากนี้พาราฟีนีลีนไดอะมีนยังทำให้เกิดอาการระคายเคืองและเป็นพิษต่อระบบภายในร่างกาย เมื่อใช้เป็นเวลานาน
สารฟอกจางสีผม ทำให้เกิดอาการแพ้เนื่องจากสารแอมโมเนียมซัลเฟต
      2.น้ำยาดัดผม (Cold wave lotion)      ส่วนมากทำให้เกิดผิวหนังอักเสบจากการระคายเคืองเนื่องจากสัมผัสกับด่างในผลิตภัณฑ์ ไม่ค่อยพบอาการแพ้น้ำยาดัดผม เนื่องจากแพ้น้ำหอมหรือสารอื่นซึ่งเป็นส่วนประกอบในสูตรตำรับ
      3.ครีมบำรุงผิวหรือครีมล้างหน้า (Miosturizing cream of cleansing cream)      ครีมบำรุงผิว ใช้ทาบนใบหน้าเพื่อบำรุงผิว ครีมพวกนี้เป็นอีมัลชั่น (Emulsifier) วัตถุกันหืน วัตถุกันเสีย น้ำหอม สี เป็นต้น มักทำให้เกิดอาการระคายเคืองเนื่องจากไขผึ้ง ลาโนลิน พาราเบน เกอมาล 115 ยูโซแลกซ์ และน้ำหอม
      ครีมล้างหน้า ช่วยในการทำความสะอาดหน้า เพื่อขจัดไขมัน ครีมแป้งแต่งหน้า และ สิ่งสกปรกต่างๆสารที่ใช้ทำความสะอาดคือ น้ำมัน และสารลดแรงตึงผิว (Surfactants) ค่อนข้างสูง จึงพบว่าทำให้เกิดการระคายเคืองบ่อย
      4.ยาระงับกลิ่นตัวและกลิ่นเหงื่อ (Deodorant and antiperspirant)      ผลิตภัณฑ์นี้มักเป็นชนิดฉีดพ่น เป็นของเหลวซึ่งข้น บรรจุขวด หรือ ลูกกลิ้ง หรือ เป็นแท่ง มักทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย เนื่องจากสารระงับการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย เช่น คลอเฮกซิดีน เบนซาลโคเนียมคลอไรด์ ไทรโคลซานไกลคอล น้ำหอม เป็นต้น
      5.ครีมกำจัดขน (Depilatory preparation)      ผลิตภัณฑ์มักมีลักษณะเป็นครีมเหนียวข้น ใช้ทาบริเวณที่ต้องการกำจัดขน ทิ้งไว้ 10-15 นาที ขนที่ถูกกำจัดออก จากนั้นใช้น้ำล้างออกให้หมด มักทำให้เกิดอาการระคายเคือง เนื่องจากฤทธิ์เป็นด่าง ของสารออกฤทธิ์สำคัญแคลเซี่ยมหรือสตรอนเตียม ไทโอไกลโคเลท
      6.เครื่องสำอางแต่งดวงตา (Eye make-up)      เครื่องสำอางแต่งดวงตา มีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น อายแชโดว์ อายไลเนอร์ (ใช้เขียนขอบตา) มาสคารา ดินสอเขียนคิ้ว ไม่ค่อยพบอาการแพ้ แต่ส่วนมากพบอาการระคายเคือง เนื่องจากสารทำละลาย และสารที่ทำให้เกิดอีมัลชั่น (Emulsifier)
      7.สบู่      สบู่มีส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น เกลือโซเดียมของกรดไขมัน เช่น โซเดียมโคโคเอท โซเดียมแทลโลว์เอท อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง ถ้าสัมผัสบ่อยๆ หรือ เป็นเวลานานพอ และมักทำให้เกิดอาการแพ้ เนืองจากสารอื่นที่เติมลงไปในสบู่ เช่น น้ำหอม สาระงับเชื้อ ลาโนลิน เป็นต้น
      8.เครื่องสำอางป้องกันแสงแดด (Sun cosmetics)      ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ที่สำคัญที่มีคุณสมบัติในการดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลตจากแสงแดดมิให้ผ่านลงไปทำอันตรายต่อเซลล์และ เนื้อเยื่อของผิวหนังที่อยู่ลึกลงไป ได้แก่ กรดพาราอะมิโนเบนโซอิก (พาบา), เบนโซฟิโนน-3 (ออกซีเบนโซน) โฮโมเบนทิลซาลิไซแลต ทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อผิวหนัง และการแพ้ทางปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันร่วมกับแสงแดด
      9.ลิปสติก (Lipstick)      การใช้ลิปสติกทาริมฝีปาก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่ออ่อนวันละหลายครั้ง และสัมผัสฝีปากเป็นเวลานานตลอดวัน มีโอกาสกลืนกินเข้าสู่ร่างกาย อาการแพ้ลิปสติกเนื่องจากสารปรุงแต่งอื่นๆในลิปสติก และ สี มีอาการริมฝีปากแห้ง บวม คัน อักเสบ หายใจไม่ออก เมื่อมีอาการควรหยุดใช้ทันที และเปลี่ยนเป็นลิปสติกชนิดไม่มีน้ำหอม และสี ประเภทโบรโมแอซิด
      10.น้ำยาเคลือบเล็บ (Nail enamel)      มักทำให้เกิดอาการแพ้ เนื่องจากโทลูอีนซัลโฟนาไมด์ ฟอร์มาดีไฮด์เรซิน ผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดอาจพบได้ได้ตามบริเวณที่มักถูกเล็บเขี่ย เล่นเปลือกตา บริเวณใบหน้าส่วนล่าง บริเวณลำคอและหน้าอก
      11.ครีมฟอกจางสีผิว (Bleaching cream)      สารออกฤทธิ์สำคัญที่ใช้ได้แก่ ไฮโดรควิโนน ปรอทแอมโมเนีย
      ไฮโดรควิโนน ทำให้เกิดการระคายเคือง มักใช้ร่วมกับวิตามินเอ ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในคนที่ผิวหนังแพ้สารต่างๆง่าย การออกฤทธิ์ของกรดวิตามินเอ ทำให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเร็ว ผลัดออกเร็ว ทำให้ผิวหนังแดง บางครั้งอักเสบ
      ปรอทแอมโมเนีย เมื่อใช้นานๆ จะสะสมบนผิวหนัง และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต สะสมทำให้เป็นอันตรายต่อไต ไตอักเสบ
    
  สรุปได้ว่าอาการข้างเคียงที่เกิดจากเครื่องสำอาง
    เนื่องจากการแพ้มากกว่าการระคายเคือง ซึ่งการแพ้นั้นเกิดเฉพาะในบางคนเท่านั้น และโอกาสที่จะเกิดการระคายเคืองหรือเกิดการแพ้มีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเครื่องสำอางที่มีจำหน่ายในท้องตลาด อาจกล่าวได้ว่าเครื่องสำอางทั่วไปมีความปลอดภัยในการใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้อย่างถูกวิธี ปฏิบัติตามวิธีใช้และคำเตือนอย่างเคร่งครัด

ชีวิตปลอดภัยกับ refreshbrand   by เภสัชกร อธิราช
http://www.refreshbrands.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น